นักทัศนมาตรคือใคร

                                                                                 April 5, 2014

นักทัศนมาตร หรือ Optometrist หรือ Oculus Doctor, O.D. คือคนที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต หรือ Doctor of Optometry Program ในต่างประเทศนักทัศนมาตรเป็นวิชาชีพที่รู้จักกันมาอย่างยาวนาน และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ในประเทศไทยนักทัศนมาตรเริ่มอย่างจริงจัง และมีระบบการศึกษามารองรับเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐอเมริกาและมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการนำโครงสร้างหลักสูตรของทางมหาวิทยาลัยอินเดียน่าพร้อมคณาจารย์บางส่วนมาร่วมก่อตั้งและพัฒนาสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นคณะทัศนมาตรศาสตร์ตั้งแต่ปี 2556)

ทัศนมาตรศาสตร์โดยการศึกษาของหลักสูตรมีระยะเวลา 6 ปี เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาดังนี้



- ฟิสิกส์ทางแสง Geometrical and Ophthalmic Optics

- กายวิภาคของมนุษย์เน้นโครงสร้างลูกตา Anatomy and Ocular Anatomy ศึกษาโดยการผ่าร่างอาจารย์ใหญ่

- สรีรวิทยาทางตา Ocular Physiology

- Theoretical and Diagnosis of Optometry

- Binocular vision and Ocular Motility

- เลนส์แว่นตาและคอนแทคเลนส์ Ophthalmic lens; Glasses and Contact lenses

- Ocular pharmacology

- Ocular Therapy

- Ocular diseases

- Eye examination

- อื่นๆ

จากเนื้อหาหลักสูตรจะเห็นว่านักทัศนมาตรไม่ใช่ช่างแว่นตา หรือ Optician ตามร้านแว่นที่ทำงานวัดสายตาและประกอบแว่นตา เพราะงานส่วนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหน้าที่ของนักทัศนมาตรเท่านั้น และนักทัศนมาตรจะไม่จ่ายยาหรือทำการผ่าตัดรักษาโรคเหมือนจักษุแพทย์เพราะไม่ได้เน้นศึกษาทางด้านโรคทางตา นักทัศนมาตรจะทำหน้าที่เป็นแพทย์ปฐมภูมิที่เน้นเรื่องสายตาเป็นหลัก หมายความว่าถ้าหากคนไข้มีปัญหาทางสายตา เช่น อาการมองไม่ชัด อาการปวดตาจากการใช้สายตา อาการไม่สบายตาแต่ยังไม่เห็นพยาธิสภาพทางตาที่ผิดปกติ อาการเหล่านี้จะนำให้คนไข้มาพบกับนักทัศนมาตรก่อนเพื่อทำการวัด วินิจฉัยอาการดังกล่าวในเบื้องต้น หากพบว่าเป็นเรื่องของปัญหาทางสายตาที่เกี่ยวกับการหักเหแสง นักทัศนมาตรก็ให้การรักษาโดยการจ่ายแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ หรือให้โปรแกรมการฝึกการบริหารกล้ามเนื้อตาตามความเหมาะสม
 
หากเป็นการจ่ายแว่นตาก็จะทำการออกใบสั่งค่าสายตา ให้กับทางช่างแว่นตาเพื่อการประกอบแว่นสายตาต่อไป หรือจะดำเนินการด้วยตนเอง และหากเป็นการจ่ายคอนแทคเลนส์หรือการออกโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อตาจะกระทำโดยนักทัศนมาตรเอง และหากพบว่าเป็นโรคทางตาก็จะทำการส่งต่อให้กับจักษุแพทย์หรือจักษุแพทย์เฉพาะทางในสาขานั้นๆ เช่น โรคกระจกตา โรคจอตา โรคต้อหิน เป็นต้น

อาจมีข้อสงสัยว่าทำไมไม่ให้ช่างแว่นตาวัดสายตาทีเดียวก็จะทราบว่ามีปัญหาทางสายตาหรือไม่ คำตอบก็คือ

- กระบวนการวัดสายตาที่ถูกต้องนั้นมีความซับซ้อน จำเป็นจะต้องอาศัยความรู้ที่มากพอในการเข้าใจกลไกในการทำงานของดวงตา

- ค่าสายตาที่ได้มาจากเครื่องวัดอัตโนมัตินั้นเป็นค่าเบื้องต้นเท่านั้น และยังมีปัจจัยอืนๆ อีกจะทำให้ได้ค่าสายตาที่ได้คลาดเคลื่อน เช่น การทำงานของระบบเพ่งที่จะทำให้ค่าสายตาที่ได้จากเครื่องวัดอัตโนมัติคลาดเคลื่อนได้มาก

- ปัญหาทางสายตาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อตาร่วมด้วย เช่น ตาเหล่ ตาเข

- ปัญหาของการมองเห็นบางส่วนมาจากการทำงานระบบสองตาร่วม หรือ Binocular vision เช่น อาการไม่สบายตาการใช้แว่นตาอาการเห็นภาพซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ทางกายภาพของดวงตา การทำงานของกล้ามเนื้อตา ที่มีความซับซ้อน

- ปัญหาโรคตาบางอย่างอาจถูกมองข้ามหากไม่มีความรู้ในการวินิจฉัย เช่น โรคสายตาขี้เกียจ โรคตาแห้ง โรคต้อกระจกในเด็ก โรคต้อ

หิน หรือโรคเบาหวานขึ้นตา เป็นต้น

- และอื่นๆ

นอกจากข้างต้นยังมีอีกมากมายที่นักทัศนมาตรจำเป็นจะต้องมีความรู้ต่างๆ มาประกอบในการวินิจฉัย เช่น พื้นฐานทางพยาธิวิทยาทางโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและทางดวงตาที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น รวมถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการมองเห็น รวมทั้งการผ่าตัดเพื่อแก้ไขสายตา เช่น เลสิก สำหรับหน้าที่ของแพทย์ปฐมภูมิ จึงเป็นที่มาของการศึกษาหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์เป็นระยะเวลา 6 ปี


นักทัศนมาตรศาสตร์ในประเทศไทยถือกำเนิดตามข้อกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยประกาศของทรวงสาธารณะสุขในการให้การรับรองวิชาชีพทัศนมาตรศาสตร์ที่เป็นศาสตร์มาจากต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการให้ประชาชนมีทางเลือกในการได้รับบริการด้านสายตาและเป็นการสร้างมาตรฐานในการให้บริการทางสายตาที่ทัดเทียมนานาประเทศ โดยออกหนังสืออนุญาตให้การบุคคลทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ให้กับบุคคลที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง และสามารถผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถทางทัศนมาตรศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอีกด้วย