ปัญหาสายตาสองข้างไม่เท่ากัน

30 เมษายน 2558

ปัญหาอย่างหนึ่งในเรื่องของสายตาที่ค่อน ข้างซับซ้อนก็คือ ปัญหาของการมีค่าสายตาสองข้างที่ต่างกัน หรือทางคลินิกเราเรียกว่า Anisometropia โดยนิยามจะหมายถึงการที่ตาสองข้างมีค่าสายตาที่ต่างกันนั้นเอง โดยทั่วไปเราจะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ

1.    Anisometropia คือ มีค่าสายตาทั้งสองข้างที่ต่างกันแต่มีสายตาประเภทเดียวกัน เช่น สายตาสั้นหรือสายตายาวทั้งสองตาเหมือนกัน แต่มีค่าสายตาสองข้างที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ข้างขวามีค่าสายตา -1.00 D และข้างซ้ายมีค่าสายตา -3.50 D หรือ ข้างขวามีค่าสายตา +0.50 D ข้างซ้ายมีค่าสายตา +2.50 D

2.    Antimetropia คือ มีทั้งค่าสายตาและประเภทของสายตาทั้งสองข้างที่แตกต่างกัน โดยมีข้างหนึ่งเป็นสายตาสั้นแต่อีกข้างหนึ่งจะเป็นสายตายาว เช่น ข้างขวามีค่าสายตาสั้น -3.50 D ในขณะที่ข้างซ้ายมีค่าสายตายาว +1.00 D

อย่างไรก็ตามในทางคลินิกเราอาจจะเรียกทั้งสองประเภทนี้รวมๆ กันว่า Anisometropia

อาการและอาการแสดง

ใน คนที่เป็น Anisometropia อาการและอาการแสดงของแต่ละคนนั้น ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันค่อนข้างมากและอาการอาจไม่สัมพันธ์โดยตรงกับระดับความ ต่างกันของค่าสายตาที่มีก็ได้ ในบางคนอาจไม่แสดงอาการเลยก็เป็นได้ จนกว่าจะได้รับการตรวจสายตาในครั้งแรกจึงจะพบว่า แต่หากในบางคนที่มีการแสดงอาการเราจะสามารถพยากรณ์ความรุนแรงหรือผลที่จะ เกิดขึ้นได้
 
โดยทั่วๆ อาการที่พบ คือ

-    มีโอกาสพบการใช้สลับตาได้โดยเฉพาะที่มีตาข้างหนึ่งมองเห็นได้ปกติ
-    ในเด็กที่เป็น Anisometropia และมีตาข้างหนึ่งมองเห็นปกติ มักจะละเลยความผิดปกติของตาอีกข้างที่มองเห็นด้อยกว่า
-    มีอาการมองเห็นภาพซ้อนในรายที่มี Anisometropia ที่รุนแรง
-    Anisometropia ที่มากกว่า 6.0 D และไม่ได้รับการแก้ไข มีโอกาสที่ตาข้างที่เห็นด้อยกว่าเกิดการตัดรับภาพ หรือ Suppression    ได้และเกิดอาการตาเหล่ตาเขตามมาได้
-    ในเด็กที่เป็นสายตายาวทั้งสองข้างมีโอกาสสูงที่จะเกิดปัญหาสายตาขี้เกียจ
-     กว่าครึ่งหนึ่งในคนที่เป็น Anisometropia จะมีอาการตาเหล่ตาเขร่วม
-    ในคนที่มีสายตาข้างหนึ่งเป็นสายตายาวอาจมีอาการล้าตาจากการทำงานหนักของระบบเพ่ง เพื่อให้ตาสองข้างเห็นได้ใกล้เคียงกัน
-    ผลของ Image Difference จากการแก้ไขด้วยแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้     อาเจียน
-    ผลของ Prism Effect ที่เกิดบนเลนส์แว่นตา ทำให้เกิดการไม่สบายตา การเห็นภาพซ้อน โดยเฉพาะในเลนส์สอง    ชั้นได้

โดยสรุปการแก้ไขค่าสายตาในคนที่เป็น Anisometropia ควรพิจารณาดังนี้

-    ปัญหาค่าสายตาจากความยาวของกระบอกตาที่ผิดปกติ จะได้ประโยชน์จากการใช้แว่นสายตา
-    การใช้คอนแทคเลนส์จะเหมาะสมในคนที่มีปัญหาสายตาผิดปกติที่ไม่ได้มาจากความยาวของกระบอกตาที่ผิดปกติ
-    คนที่มีค่าสายตาสองข้างต่างกันไม่สูงมากนัก การใช้คอนแทคเลนส์เป็นทางเลือกที่ดี
-    ในเด็กให้จ่ายเต็มค่าสายตาทั้งสองข้างเพื่อการป้องกันการเกิดปัญหาของ Suppression และ สายตาขี้เกียจในผู้ใหญ่อาจจะลดค่าสายตาในข้างที่เป็นตารองลงเพื่อลดอาการที่ มีอยู่ให้ลดลง
-    Anisometropia จะใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์นานกว่าปัญหาสายตาอื่นๆ