Esotropia with Prism ตาเขเข้าแก้ไขด้วยเลนส์ปริซึม

                                                                       
                                                                           17 มีนาคม 2567


ตาเขเข้า หรือ Esotropia ที่พบได้ช่วงต้นมักมีอาการมองไกลแล้วเห็นภาพซ้อน มองไกลส่วนใหญ่อาจยังปกติ เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งอาการมองใกล้จะเริ่มปรากฎ เช่น อ่านหนังสือไม่ทน ปวดศีรษะ ปวดตาจนถึงเป็นภาพซ้อนทั้งระยะไกลและระยะใกล้

ตาเขเข้าส่วนมากเกิดจากกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตามัดที่ชื่อว่า Lateral Rectus ที่ทำหน้าที่ในการดึงลูกตาออกด้านข้างทำงานผิดปกติหรืออ่อนแรง อาจมีสาเหตุมาจากตัวกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 6 ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานเสียหาย เช่น โดนกระแทกที่ศีรษะด้านข้าง ขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาท พัฒนาการระบบรวมภาพผิดปกติ เป็นต้น

การแก้ไขรักษาสาเหตุที่พบแล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น หากเป็นพัฒนาการผิดปกติและมีอาการภาพซ้อนสามารถแก้ไขการมองเห็นภาพซ้อนได้ด้วยเลนส์ปริซึม ปริซึมจะให้ตาทั้งสองได้รับภาพเดียวกันอาการมองเห็นภาพซ้อนหายไปได้


หากอาการตาเขแสดงเด่นชัดจนส่งผลต่อบุคลิกภาพ การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาทำให้สวยงามขึ้นได้

(ภาพประกอบ 14 prism base out, คนไข้หญิงอายุ 23 ปี มาด้วยอาการมองไกลเห็นภาพซ้อน)