Stenopaic slit refraction คืออะไร ใช้ทำอะไร และวิธีการใช้งานอย่างไร

                                                                              16 ตุลาคม 2563

หลายคนคงเคยเห็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเซตของเลนส์เสียบ มีลักษณะแผ่นวงกลมสีดำที่ตรงกลางเป็นช่องเปิดสี่เหลี่ยม เรามาดูกันว่าอุปกรณ์นี้คืออะไร ใช้ทำอะไร และวิธีการใช้งานเป็นอย่างไร

อุปกรณ์ชิ้นนี้มีชื่อเรียกว่า Stenopaic slit เป็นแผ่นวงกลมพลาสติกสีดำมีช่องทางเดินแสงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดกว้างตั้งแต่ 1-3 มิลลิเมตรและยาว 20 มิลลิเมตร ใช้งานร่วมกับแว่นทดลองในการใช้วัดหาค่าสายตาเอียง โดยเฉพาะในกรณีวิธีปกติไม่สดวกในการทำงาน เช่น

-    มีปัญหาในการสื่อสารสับสนในวิธีการหาค่าสายตาแบบปกติ
-    มีค่าสายตาเอียงสูงๆ หรือสายตาเอียงแบบ Mixed astigmatism
-    มีสายตาเอียงแบบ Irregular astigmatism เช่น โรคกระจกตาโปร่ง เลนส์แก้วตาผิดรูป เป็นต้น

ก่อนอื่นเรามาทำควาเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการหักเหแสงและการเกิดภาพของเลนส์เอียง หรือ Astigmatism imaginary แบบ Regular astigmatism
เลนส์เอียงร่วม หรือ Sphero-Cylindrical Lens จะมี 2 Principle meridians คือ
-    Strongest meridian ที่มีกำลังการหักเหแสงมากสุด และ
-    Weakest meridian ที่มีกำลังการหักเหแสงน้อยสุด

แต่ละ Meridian จะมี แกนหมุน (Axis) และ เส้นรวมแสง (Focal line) ของตนเอง
การหักเหแสงของเลนส์เอียงร่วมสามารถสรุปได้ดังนี้
-    Strongest และ Weakest meridians ทำมุมตั้งฉากกัน
-    แต่ละ Meridian ตั้งฉากกับ Axis และ Focal Line ของตนเอง
-    Focal Lines ทั้งสองตั้งฉากกัน
-    ภาพที่เกิดขึ้นมีความบิดเบือนเกือบทุกจุด ยกเว้นภาพที่จุด Circle of least confusion, CLC ที่ให้ภาพที่มีความบิดเบือนน้อยหรือภาพที่ดีสุด

การหาตำแหน่งองศาของ Principal meridians
เมื่อเราเอา Stenopaic slit มาวางไว้ด้านหน้าเพื่อให้แสงเดินทางผ่านเฉพาะช่องเปิด เช่น วางในแนวนอนให้เฉพาะแสงแนวนอนผ่าน หากเราหมุน Slit ให้อยู่ในแนวเดียวกับ Meridian แสงเฉพาะแนว Meridian นั้น เดินทางผ่านช่องเปิดขนาดเล็กในลักษณะของ Pin hole effect ทำให้ Blur circle มีขนาดเล็กลง ภาพที่ได้จึงมีความคมชัดมากขึ้น ขณะเดียวกันจุดรวมแสงนั้นก็เลื่อนเข้าใกล้จุด CLC ด้วยเช่นกัน จึงทำให้ภาพที่ได้มีความบิดเบือนน้อยลงเมื่อเทียบกับตำแหน่ง Slit ในมุมอื่น ๆ

การหา Strongest และ Weakest meridian
เมื่อเรานำค่าสายตาเบื้องต้น ( เช่น Best sphere) ใส่บนแว่นทดลอง แล้วทำการ Fog ด้วยเลนส์บวกจะทำให้ Focal lines ทั้งสองมาอยู่ที่ด้านหน้าจอตา จะพบว่า Weakest focal line จะอยู่ใกล้จอตามากกว่า และหากเราเอา Stenopaic slit มาวางไว้ด้านหน้าแล้วหมุนหาองศาที่ให้ภาพที่ดีที่สุด ซึ่งแสงที่เดินทางผ่าน Slit นี้อยู่ในแนวเดียวกับ Weakest meridian หรือเป็นองศาของแกน Weakest meridian นั้นเอง และองศานี้ยังเป็นค่าองศาเอียงในค่าสายตาที่เขียนในรูปแบบ Minus cylinder form เช่นกัน

ขั้นตอนการใช้ Stenopaic slit ในการหาค่าสายตาเอียงแบบ Regular astigmatism
1.    ให้คนไข้สวม Trial frame ที่มีค่าสายตาเบื้องต้น
2.    ตรวจตาขวาก่อน ปิดตาซ้าย
3.    ทำการ Fog ด้วยเลนส์บวกที่มีค่าตั้งแต่ +1.00 ถึง +1.50 D
4.    เปิด VA chart ที่มีหลายบรรทัดครอบคลุม VA ที่ดีที่สุด เช่น 20/20 ถึง 20/70
5.    เสียบ Stenopaic slit จากนั้นค่อย ๆ หมุนให้ได้ตำแหน่งองศาที่ให้ภาพที่ดีที่สุด เช่น 180 องศา องศานี้เป็นตำแหน่งของแกน         Weakest meridian และองศาเอียงของค่าสายตา
6.    ทำการลด Fog ด้วยเลนส์กำลังลบทีละ -0.25 D จนได้ VA ที่ดีที่สุด
7.    บันทึกค่ากำลังเลนส์รวมบนแว่นทดลองและองศาของ Slit เช่น +2.00 at 180
8.    ถอดเลนส์ลบที่ใส่ไปล่าสุดออก
9.    ค่อย ๆ หมุน Slit ไปจนพบภาพที่เบลอสุดที่ห่างไปประมาณ 90 องศา หากภาพที่แย่สุดไม่ใช่ที่ห่างไป 90 องศา แสดงว่าอาจมีค่าสายตาเอียงแบบ Irregular astigmatism
10.  ทำการลด Fog ด้วยเลนส์กำลังลบทีละ -0.25 D จนได้ VA ที่ดีทีสุด
11.  บันทึกค่ากำลังเลนส์รวมและองศาของ Slit เช่น -1.00 at 90

การหาค่าสายตาด้วยวิธีการ Power cross
เมื่อเราได้ค่ากำลังเลนส์บนแต่ละแกนหลักจากวิธีการใช้ Stenopaic slit ข้างต้นแล้ว ให้นำค่ามาเขียนในรูปของ Power cross เช่น +2.00 at 180 และ -1.00 at 90 จาก Power cross ด้านบน ค่าสายตาที่ได้ก็คือ +2.00 -3.00 x 180

12.    ใส่เลนส์เสียบตามค่าสายตาที่หามาได้จาก Optical cross บนแว่นทดลอง
13.    ทำการบันทึกค่า VA และวิธีวัดค่าสายตาแบบ Stenopaic slit
14.    ทำเช่นเดียวกันบนตาข้างซ้าย
15.    ทำขั้นตอนต่อไปเพื่อให้ได้ Best VA

สรุป
Stenopaic slit เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ใช้ในการหาค่าสายตาที่มีเอียงร่วม โดยเฉพาะกรณีที่มีสายตาเอียงค่อนข้างสูง หรือสายตาเอียงแบบ Mixed astigmatism วิธีนี้อาศัยหลักการของ Astigmatism imaginary และ Pin hole effect ในการหาตำแหน่งของ Principle meridian ร่วมกับ Fogging ในการหาค่ากำลังเลนส์บนแต่ละ Meridian และใช้วิธี Power cross ในการหาค่าสายตา วิธีการ Stenopaic slit มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน อาจเหมาะกับคนไข้บางกลุ่มที่มีความสับสนในการสื่อสารกับวิธีหาค่าสายตาแบบปกติได้

วิชัย ลัคนาทิน
นักทัศนมาตร


หนังสืออ้างอิง
Clinical Refraction, Irvin M. Borish, 3rd, 1970
Clinical Procedures for Ocular Examination, Nancy B. Carlson, Daniel Kurtz, David A. Heath, Catherine Hines, 2nd, 2002