การเลือกแว่นสายตายาวอ่านหนังสือ : กรณีสวมทับคอนแทคเลนส์
3 มิถุนายน 2563
- มีค่าสายตาสองข้างที่แตกต่างกัน
- คอนแทคเลนส์ใช้ค่าไม่เหมาะสม
- เป็นต้น
หลายคนที่มีการใช้คอนแทคเลนส์อยู่เป็นประจำ
เมื่ออายุเข้าใกล้ 40
จะพบว่าการอ่านหนังสือหรือการใช้สายตาระยะใกล้เริ่มยากลำบากขึ้น เช่น
มีอาการล้าตาง่าย ง่วงนอนบ่อย ต้องอ่านหนังสือออกห่างตัวมากขึ้น เป็นต้น
ทั้งนี้เพราะเริ่มมีภาวะสายตายาวสูงอายุเข้ามา
สาเหตุมาจากเลนส์แก้วตาเริ่มเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่น
ทำให้กำลังในการเพ่งของดวงตาถดถอยลง นั้นเอง
การแก้ปัญหาส่วนใหญ่มักไปหาซื้อแว่นสายตาสำหรับอ่านหนังสือสำเร็จรูป
บางคนสามารถใช้งานได้ดีแต่ก็มีคนส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถใช้งานได้ เช่น
ภาพไม่คมชัด ไม่สบายตา ยังมีอาการล้าตา เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
สาเหตุของอาการเหล่านี้ เช่น
- มีสายตาเอียงที่ยังไม่ได้แก้ไขด้วยคอนแทคเลนส์- มีค่าสายตาสองข้างที่แตกต่างกัน
- คอนแทคเลนส์ใช้ค่าไม่เหมาะสม
- เป็นต้น
คนส่วนมากที่มีสายตาเอียงน้อยมักเลือกสวมคอนแทคเลนส์ทั่วไปที่ไม่ได้แก้ไขค่าสายตาเอียง
ดวงตายังคงมีค่าสายตาเอียงเหลืออยู่ (Residual astigmatism)
หากอายุยังน้อยกำลังการเพ่งยังดีมากภาพที่ได้ยังคงคมชัด
ต่อมาเมื่อกำลังเพ่งของดวงตาเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นภาพที่ได้ก็จะค่อนข้างแย่ลง
บางคนที่มีสายตาสองข้างต่างกันแต่อาจมีการใช้คอนแทคเลนส์ที่เท่ากัน
นอกจากนี้หลายคนยังใช้คอนแทคเลนส์ที่มีค่าอาจจะน้อยไปหรือมากไป เป็นต้น
การเลือกใช้แว่นสายตาอ่านหนังสือชนิดสวมทับบนคอนแทคเลนส์อาจมีความซับซ้อนอยู่บ้าง
ในทางปฏิบัติจึงต้องวัดหาค่าสายตาที่ถูกต้องทั้งระยะไกลและใกล้ก่อนเสมอ
หากจำเป็นอาจจะต้องแก้ไขคอนแทคเลนส์ให้ถูกต้องก่อน จากนั้นคำนวณหา
Compensate power ของค่าคอนแทคเลนส์ที่ใช้มาเป็นค่ากำลังเลนส์แว่นสายตา
เพราะทั้งสองวางตำแหน่งที่แตกต่างกัน
ต่อมาหากค่าสายตาที่วัดมีสายตาเอียงให้นำมาคำนวณหาค่าสายตาที่ได้ชดเชยสายตาเอียงที่มีทั้งหมด
(Spherical equivalent)
เมื่อทราบค่าสายตาทั้งสองแล้วให้ทำการหาค่าสายตาสำหรับระยะใกล้บนแว่นสายตา
(Near power) เมื่อได้แล้วให้นำค่าสายตาเอียง ถ้ามี มาแก้ไขอีกครั้ง
เราจึงจะได้ค่าสายตาสำหรับอ่านหนังสือหรือการใช้งานระยะใกล้ที่ถูกต้องและใช้งานได้ดี
สรุป
ในคนที่มีค่าสายตาสองข้างเท่ากันและไม่มีค่าสายตาเอียง
อาจหาซื้อแว่นสายตาสำเร็จรูปมาสวมทับคอนแทคเลนส์เพื่อช่วยในการอ่านหนังสือ
หากบางคนที่มีค่าสายตาสองข้างที่ไม่เท่ากันและ/หรือมีค่าสายตาเอียงเมื่อต้องการแว่นสายตาอ่านหนังสือสวมทับบนคอนแทคเลนส์
แนะนำให้ไปพบนักทัศนมาตรเพื่อรับการวัดสายตาที่ถูกต้องและจ่ายค่าสายตาสำหรับทำแว่นอ่านหนังสือที่เหมาะสม